ความหมายสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น
จากสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีและชีวิตให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมไว้ดังนี้
สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ
กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมให้นิยามว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึงสิ่งต่าง
ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
(Natural environment) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ ดิน น้ำ มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย
- สิ่งที่มีชีวิต
(Biotic Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
(Biological Environment) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต
เช่น พืช สัตว์ มนุษย์
- สิ่งที่ไม่มีชีวิต
(Abiotic Environment) หรือ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะมองเห็นหรือมอง ไม่เห็น เช่น แร่ธาตุ อากาศ เสียง
2.
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
(Man-Made Environment) ได้จากทรัพยากรดั้งเดิม
แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงเช่น ถนน บ้านเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรม (Abstract หรือ Social Environment) เช่น วัฒนธรรม
ประเพณี การเมือง ศาสนา กฎหมาย
สิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในแต่ละประเภท
สิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอื่น
ๆมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่ เมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมจะมีลักษณะที่ทนทานต่อการถูกกระทบแตกต่างกัน
คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม
1.สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีกลไกควบคุมการเกิดขึ้น
2.สิ่งแวดล้อมนั้นจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ
3.สิ่งแวดล้อมหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอเช่น
ปลาต้องการน้ำ
เพื่อการอยู่รอดหรือต้องการรักษาสภาพตนเองหากขาดสิ่งแวดล้อมอื่นที่จำเป็นอาจสูญสลายได้
4.สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม
เรียกกลุ่มของสรรพสิ่ง (ระบบนิเวศ) ภายในระบบนิเวศมีองค์ประกอบ หลากหลายชนิด
แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะ
การอยู่ร่วมกันมีกลไกสิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่างๆแสดงออกเป็นการทำงานร่วมกัน
5.สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่
ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นเป็นลูกโซ่เสมอ
6.สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมักมีลักษณะทนทาน
และเปราะบางต่อการถูกกระทบต่างกัน
7.สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วยคราวหรือถาวรก็ได้
กลไกสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
มิติสิ่งแวดล้อม (environmental dimensions) แบ่งเป็น 4 มิติ
- มิติของเสียและมลพิษ
- มิติทรัพยากร
- มิติเทคโนโลยี
- มิติสิ่งแวดล้อม
- มิติเศรษฐสังคม/มิติมนุษย์
1.
มิติทรัพยากร resources dimensions หมายถึงทรัพยากรทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น
เป็นมิติที่สำคัญเพราะมีบทบาทต่อมนุษย์ในการเอื้อประโยชน์ด้านอาหาร
ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม มิติทางทรัพยากรมี 4 มิติ
(1.)
ทรัพยากรกายภาพ
เป็นทรัพยากรพื้นฐานของระบอบสิ่งแวดล้อม
(2.)
ทรัพยากรชีวภาพ
เป็นมิติพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นป่าไม้ สัตว์ป่า
พืชเป็นทรัพยากรที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบสิ่งแวดล้อมและเป็นตัวฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของระบบ
(3.)
คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาสร้างคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
เช่น เกษตรกรรม พลังงงาน
(4.)
คุณค่าคุณภาพชีวิต
เป็นกลุ่มทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐสังคม ผลที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรจะเป็นตัวชี้ประเด็นว่าสภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร
มิติทรัพยากรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้การจัดการความยั่งยืนของระบบสิ่งแวดล้อม
2.
มิติเทคโนโลยี
เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ความผิดพลาดของการนำเทคโนโลยีมาใช้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.
มิติของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- ของแข็ง ได้แก่
กากสารพิษ ขยะ ฝุ่นละออง
- ของเหลว น้ำ
น้ำมัน ไขมัน
- ก๊าซ
อากาศที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ เขม่าควันออกไซด์ของไนโตรเจน ฯลฯ
- มลพิษทางฟิสิกส์
เสียง มลพิษของความร้อน แสงสว่าง รังสี
4.
มิติเศรษฐสังคม/มิติมนุษย์
หมายถึงสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นองค์ประกอบภาคในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เช่น
ประชากร กฎระเบียบ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น