การจัดการระบบนิเวศ


        “การจัดการระบบนิเวศ คือ  การจัดการที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเป็นแรงผลักดัน  ดำเนินการจัดการโดยอาศัยนโยบาย  วิธีการ  และการปฏิบัติ  ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้  โดยอ้างอิงกระบวนการติดตามตรวจสอบและการวิจัยที่มีพื้นฐานอยู่บนความรู้ความเข้าใจอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ของปฏิสัมพันธ์และกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จำเป็นสำหรับความยั่งยืนของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ
องค์ประกอบของการจัดการระบบนิเวศ

การจัดระบบนิเวศที่แท้จริงจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ  8  ประการคือ

1.  มีคุณค่าพื้นฐานตั้งอยู่บนความยั่งยืน  การจัดการระบบนิเวศจะต้องมีข้อกำหนดหลักที่ความยั่งยืนซึ่งข้ามช่วงอายุขัยของมนุษย์  แทนที่จะเป็นเพียงสิ่งที่คิดขึ้นมาภายหลัง  การจัดระบบนิเวศจะต้องดำเนินต่อไปในทิศทางที่จะไม่ปฏิเสธโอกาสและทรัพยากรที่คนรุ่นต่อๆ ไปจะได้รับ

2.  จุดมุ่งหมาย  การจัดการระบบนิเวศเป็นการประยุกต์จุดมุ่งหมายของหลักการใช้ประโยชน์อย่างเร่งรัด  โดยที่จุดมุ่งหมายจะต้องไม่เน้นไปที่ผลผลิตและบริการที่จะได้รับแต่เพียงด้านเดียวแต่จะต้องเน้นอย่างเด่นชัดไปที่  สถานะในอนาคตที่พึงประสงค์และ พฤติกรรมในอนาคตที่พึงประสงค์ขององค์ประกอบและการทำหน้าที่ของระบบนิเวศซึ่งมีความจำเป็นต่อความยั่งยืน  ยิ่งไปกว่านั้น  จุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้นนั้นจะต้องสามารถวัดและติดตามตรวจสอบได้

3.  การจัดระบบนิเวศต้องมีฐานความเป็นเหตุผล  ความรู้ความเข้าใจทางนิเวศวิทยาที่ทุกลำดับขั้นของการจัดองค์กรทางนิเวศวิทยา

4.  ความสลับซับซ้อนและความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน  การจัดระบบนิเวศจำเป็นต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่า  ความหลากหลายทางชีวภาพและความสลับซับซ้อนของโครงสร้าง  ทำให้ระบบนิเวศมีความต้านทานต่อการรบกวน  และทำให้มีทรัพยากรทางพันธุกรรมที่จำเป็นต่อการปรับตัวเพื่อตอบสนองการเลี่ยนแปลงในระยะยาว  และวิวัฒนาการ

5.  คุณลักษณะพลวัตของระบบนิเวศ  การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการเป้นความปกติที่เกี่ยวข้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความยั่งยืนของระบบนิเวศ  ดังนั้น  การจัดการระบบนิเวศจะต้องเหลียกเลี่ยงการพยายามที่จะ  แช่แข็ง”  ระบบนิเวศให้ดำรงอยู่ที่สถานะหนึ่งหือองค์ประกอบหนึ่งๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในทางนิเวศวิทยา

6.  บริบทและมาตรา  ระบบนิเวศมีการทำหน้าที่ในมาตราพื้นที่และเวลาที่กว้างมากขณะที่พฤติกรรมของระบบที่บริเวณหนึ่งบริเวณใดซึ่งได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก  จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการจัดการที่มีมาตราที่เหมาะสมหรือกรอบกำหนดของเวลาเพียงประการเดียว

7.  มนุษย์เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศ  การจัดระบบนิเวศจะต้องให้ความสำคัญต่อบทบาทของมนุษย์ที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการจัดการที่ยั่งยืน  การจัดระบบนิเวศที่เหมาะสมมีความจำเป็น  แต่ไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว  มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเพิ่มประชากรของมนุษย์  วิถีชีวิต  ความยากจน  ทัศนคติ  ระบบคุณค่า  และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมของสังคมมนุษย์  เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

8.  ความสามารถการปรับตัวและการประเมิน  การจัดการระบบนิเวศจำเป็นต้องยอมรับขีดจำกัดพื้นฐานที่ว่า  ความรู้ความเข้าใจและกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวกับโครงสร้างและการทำหน้าที่ของระบบนิเวศในปัจจุบันยังม่สมบูรณ์และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น